กรอบแนวความคิดและหลักการวิสัยทัศน พันธกิจ ยุทธศาสตร์ด้าน ICT โดยรวม
ส่วนที่ 1 บททั่วไป
กรอบแนวความคิดและหลักการ
แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 5 จัดทำขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2545 เพื่อเป็นกรอบแนวทางให้โรงเรียน พัฒนางานด้าน ICT โดยอาศัยแนวนโยบายและหลักการของกรอบนโยบายเทคโนโลยี สารสนเทศระยะ พ.ศ. 2544 – 2553 ของประเทศไทย ( IT 2010 Policy Framework) เป็นแนวความคิดพื้นฐานและ ข้อวิเคราะห์ในการกำหนดเป้าหมายของการพัฒนา ICT ของสพท. รวมทั้งเพื่อให้สถานศึกษา หน่วยงานในสพท.ใช้เป็นกรอบในการจัดทำงบประมาณในช่วงระยะเวลาของแผนฉบับนี้
เนื่องจากการจัดทำแผนครั้งนี้เป็นแผน 3 ปี ที่ต้องสนับสนุนและสอดคล้องการบรรลุ เป้าหมายการพัฒนา ICT ระดับชาติ ซึ่งได้กำหนดไว้ในแผนงานที่เป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับพันธกิจของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 5 ได้แก่
- การพัฒนาระบบงานบริหารหลัก (Back Office) และงานบริการแก่หน่วยงานอื่นและประชาชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E – Office)
- การพัฒนาเครือข่าย เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลของส่วนราชการ และการจัดทำศูนย์ข้อมูลกลางเพื่อสนับสนุนและรองรับการจัดตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ (Government Data)
นอกจากนี้ แผนแม่บทฉบับนี้ยังได้กำหนดแผนงาน / กิจกรรม ที่เป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งได้แก่ การพัฒนาบุคลากร และการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เพื่อช่วยให้การดำเนินแผนงาน / โครงการ ที่กำหนดไว้บรรลุตามเป้าหมาย
1.1 วิสัยทัศน์ ด้าน ICT ของจสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 5
“ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต5 เป็นสำนักงานที่ใช้ระบบ ICT เพื่อพัฒนาระบบบริหาร ราชการ งานบริการ ฐานข้อมูล และระบบเครือข่าย ”
1.2 พันธกิจด้าน ICT ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 5
พันธกิจมี 4 ข้อ ดังนี้
(1) ส่งเสริมและพัฒนาระบบงาน ICT เพื่อใช้ในการบริหารงานและสนับสนุนภารกิจของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 5รวมทั้งประมวลผลเป็นระบบข้อมูลสารสนเทศ เพื่อการใช้ประโยชน์ข้อมูลร่วมกันเป็นเครือข่ายในลักษณะศูนย์ข้อมูลเพื่อการบริหารของสำนักงาน ที่เชื่อมโยงข้อมูลกับโรงเรียนภายในสำนักงานเขตฯและส่วนกลาง นำไปสู่การปฏิบัติตามนโยบายการจัดทำศูนย์ปฏิบัติการระดับต่าง ๆ
(2) พัฒนาและกำหนดมาตรฐานข้อมูลและการสื่อสาร เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเป็นเอกภาพ และเปิดให้บริการในลักษณะ E-Government แก่หน่วยงานภาครัฐและประชาชนทั่วไป
(3) พัฒนาระบบงานและเครือข่ายสื่อสาร รวมทั้งบริการด้านการสื่อสารแก่หน่วยงานภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 5ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั่วถึง เพียงพอ รวดเร็ว และไม่ซ้ำซ้อน
(4) พัฒนาบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้าน ICT ให้เป็นผู้เชี่ยวชาญระดับเขตพื้นที่การศึกษา และพัฒนาบุคลากร ทุกระดับ เพื่อเพิ่มความรู้ ทักษะ ในการใช้ ICT บริหารจัดการและปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.3 ยุทธศาสตร์ด้าน ICT โดยรวมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 5
เพื่อให้การดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษรนครราชสีมา เขต 5 สามารถดำเนินการได้ตามวิสัยทัศน์ และพันธกิจที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ จึงได้วางยุทธศาสตร์การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เข้ามาใช้เป็น เครื่องมือในการสนับสนุนการปฏิบัติงาน ตามยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการและยุทธศาสตร์ชาติให้มี ประสิทธิภาพ ดังนี้
1.พัฒนาระบบงานบริหารราชการและงานบริการด้วย ICT
2. ส่งเสริมระบบเครือข่ายสื่อสารให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุมทุกหน่วยงาน
3. พัฒนาการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลเป็นเครือข่ายในลักษณะศูนย์ข้อมูลกลาง
4. วางแผนพัฒนากระบวนงาน และระบบงานให้เกิดประสิทธิภาพการบริหารงาน การปฏิบัติงานด้าน ICT
5. ส่งเสริมศักยภาพบุคลากร และสร้างวัฒนธรรมองค์กร ให้พร้อมในการปฏิบัติงานในระบบอิเล็กทรอนิกส์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาระบบงานบริหารราชการและงานบริการด้วย ICT
ยุทธศาสตร์นี้ เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบงาน/ฐานข้อมูล เพื่อช่วยการปฏิบัติงาน และสนับสนุนการบริหารงานภายในองค์กร (Back Office) และการพัฒนาระบบสารสนเทศ/ฐานข้อมูลของหน่วยงาน เพื่อให้บริการแก่ส่วนราชการและประชาชน (Front Office) ในรูปของอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการพัฒนาต่อยอดเป็นระบบสารสนเทศระดับต่าง ๆ (SMIS,GIS) สำหรับให้ผู้บริหารและนักวางแผนนำไปใช้ประโยชน์ รวมถึงการพัฒนาจุดบริการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการและข้อมูลข่าวสารได้
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมระบบเครือข่ายสื่อสารให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุมทุกหน่วยงาน
ยุทธศาสตร์นี้ เกี่ยวข้องกับการพัฒนา/จัดหาระบบเครือข่ายสื่อสารให้รองรับ ความต้องการใช้ของโรงเรียน ทุกกลุ่มงาน เพื่อสนับสนุนการเชื่อมโยงเครือข่ายสารสนเทศและ การสื่อสารที่ครอบคลุมพื้นที่และลักษณะการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการพัฒนาระบบเครือข่ายภายใน (LAN) ของหน่วยงานภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลเป็นเครือข่ายในลักษณะศูนย์ข้อมูลกลาง
ยุทธศาสตร์นี้ เกี่ยวข้องกับการจัดทำฐานข้อมูล การพัฒนาและกำหนดมาตรฐานข้อมูลและการสื่อสาร เพื่อเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านเครือข่ายในรูปอิเล็กทรอนิกส์ ของ สพฐ. และ สนับสนุนบทบาทศูนย์ข้อมูลระดับโรงเรียนจัดทำศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัด
ยุทธศาสตร์ที่ 4 วางแผนพัฒนากระบวนงาน และระบบงานให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารงานการปฏิบัติงานด้าน ICT
ยุทธศาสตร์นี้ เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างมาตรฐานการปฏิบัติงานด้าน ICT การพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้าน ICT การจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เพื่อรองรับระบบงาน/เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารและปฏิบัติงาน และการบำรุงรักษา/เสริมสมรรถนะเครื่อง-คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ รวมทั้งบำรุงรักษาครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมศักยภาพบุคลากร และสร้างวัฒนธรรมองค์กร ให้พร้อมในการปฏิบัติงาน ในระบบอิเล็กทรอนิกส์
ยุทธศาสตร์นี้ เกี่ยวข้องกับพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และทักษะในการใช้ ICT ในการปฏิบัติงาน การพัฒนาผู้บริหารให้มีทักษะการใช้ ICT ในการเข้าถึงขอมูล และการพัฒนาบุคลากรด้าน ICT ให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งการจัดหาที่ปรึกษาด้าน ICT เพื่อชี้นำแนวการพัฒนาและให้คำปรึกษาด้านเทคนิควิชาการ
ส่วนที่ 2 :
การวิเคราะห์สถานภาพด้าน ICT ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 5
ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์สถานภาพด้าน ICT ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 5
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 5 เป็นหน่วยงานที่มีการวางระบบ ICT ที่ดี มีความพร้อมในการปฏิบัติงาน มีการใช้ระบบ LAN ภายในสำนักงาน มี Sever data Systemในการควบคุมระบบการทำงาน สามารถเชื่อมโยงกันได้ทุกกลุ่มงาน ทำให้สะดวกในการสืบค้นข้อมูล และบริการผู้มาติดต่อราชการได้อย่างรวดเร็วมีการจัดทำ เว็บไซต์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และของกลุ่มงาน ทุกกลุ่ม รวมทั้งโรงเรียนทุกโรงเรียน ในสังกัด สามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ บุคลากรร้อยละ 100 สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน
2.1 วิเคราะห์สถานภาพด้าน ICT เฉพาะภายในของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 5
องค์ประกอบหลักจุดแข็ง/ข้อได้เปรียบจุดอ่อน/ปัญหา ปัจจัยด้านอุปกรณ์ ซอฟต์แวร์และโครงข่ายการสื่อสาร
1. มีการปรับปรุงและจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง และเพียงพอ
2. มีการเชื่อมโยงเครือข่ายกับหน่วยงาน ของ สพฐ. โรงเรียนในสังกัด ในระบบ Internet และมีแผน การปรับปรุงให้ครอบคลุมทุกกลุ่มงาน
1.ระบบสัญญาณเชื่อมเครือข่ายของโรงเรียน ไม่สามารถเชื่อมสัญญาณได้ อย่างต่อเนื่อง
2. มีไวรัสรบกวน โดยผ่านระบบ Internet
ปัจจัยด้านบุคลากร
1. แต่ละกลุ่มงาน มีผู้เชี่ยวชาญด้าน ICT อย่างน้อย 1 คน
2. ผู้บริหารให้การสนับสนุนพัฒนาบุคลากร
3. บุคลากรทุกคน สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานได้ร้อยละ 100
เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบมีภารกิจหลาย ด้าน ทำให้ไม่มีเวลาปฏิบัติงานด้าน ICT
องค์ประกอบหลักจุดแข็ง/ข้อได้เปรียบ จุดอ่อน/ปัญหา
2.ขาดบุคลากรในการตรวจสอบ บำรุง รักษาและตรวจซ่อมอุปกรณ์
ปัจจัยด้านงบประมาณ
สพฐ. สพท.ให้การสนับสนุนงบประมาณในการจัดซื้อคอมพิวเตอร์
การบริหารงบประมาณมีความล่าช้า
ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ
ผู้บริหารให้การสนับสนุนและ ส่งเสริม การใช้ ICT
ปัจจัยด้านข้อมูล/ระบบงาน
มีระบบฐานข้อมูล และระบบงาน SMIS และ GIS ระดับหนึ่ง ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ และเป็นฐานต่อการพัฒนาต่อไป
ระบบการจัดเก็บข้อมูลใช้ Software หลายระบบ ไม่เป็นแนวทางและมาตรฐานเดียวกัน
2.2 บทวิเคราะห์สถานภาพด้าน ICT ภายนอกของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 5
องค์ประกอบหลัก โอกาส อุปสรรค/ผลกระทบ
1. หน่วยงานภายนอก ที่เกี่ยวข้อง
1. รัฐบาลมีนโยบาย วิสัยทัศน์ และให้
ความสำคัญด้าน ICT กำหนดเป็นยุทธ ศาสตร์ การพัฒนาประเทศ
3. นโยบายนายกรัฐมนตรีให้ทุกกระทรวง/ ทุกส่วนราชการ จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการ ระดับต่าง ๆ โดยมีการเชื่อมโยงไปยัง ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี ทำให้ผู้
บริหารให้ความสำคัญ และผลักดันงาน ด้านสารสนเทศอย่างจริงจัง
องค์ประกอบหลักโอกาส อุปสรรค/ผลกระทบ
4. ส่วนราชการต่าง ๆ ให้ความสำคัญต่อ โครงสร้างพื้นฐานด้านเครือข่ายสารสนเทศ และการสื่อสารของหน่วยงาน และร่วมใช้ เครือข่ายจำนวนมาก
2. การจัดสรรงบประมาณ สพฐ และ สพท.. มีการพิจารณาจัดสรร งบประมาณ สนับสนุน ทำให้ โครงการด้าน ICT มีโอกาสได้รับการ พิจารณาจัดสรรงบประมาณสูง
3. ความก้าวหน้าทางด้าน ICT
1. เอกสาร/คู่มือและสื่อให้ความรู้ทางด้าน ICT แพร่หลายและทั่วถึง
2. มีโอกาสและทางเลือกในการพัฒนา ICT
3.สถาบันการศึกษาเกือบทุกแห่งเปิดโอกาส.ให้บุคลากรในองค์กรศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมโดยงานและยากขึ้นเปิดสอนหลักสูตร ด้านเทคโนโลยี
1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ ให้เท่าทัน
2. อุปกรณ์ด้าน ICT และ Software
มีราคาสูง และการจัดสรรอุปกรณคอมพิวเตอร์จากส่วนกลางบางครั้งไม่เหมาะกับการใช้งาน
ส่วนที่ 3 :
เป้าหมายโดยรวมและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบ ICT
ส่วนที่ 3 เป้าหมายโดยรวมและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 5
1. พัฒนาระบบเครือข่ายโดยการจัดทำระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายสื่อสารระหว่างกลุ่มงานและโรงเรียนในสังกัด ทุกโรงเรียน ผ่านระบบเครือข่ายทั้ง Internet 2. การพัฒนาระบบฐานข้อมูล โดยมีการจัดทำระบบฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ มีมาตรฐาน เพื่อนำไปสู่มาตรฐาน เป็นข้อมูลกลางที่ใช้อ้างอิง และมีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยข้อมูลเพื่อการ และให้มีการจัดทำระบบฐานข้อมูล GIS มาใช้ประโยชน์ในการบริหารอย่าง)
3. การพัฒนาบุคลากรเพื่อให้บุคลากรของหน่วยงานมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ ที่จำเป็นในการรองรับการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบ ICT ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 5
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาระบบงานบริหารราชการและงานบริการด้าน ICT
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมระบบเครือข่ายสื่อสารให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุม ทุกโรงเรียน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลเป็นเครือข่ายในลักษณะศูนย์ข้อมูลกลาง
ยุทธศาสตร์ที่ 4 วางแผนกระบวนงาน และระบบงานให้เกิดประสิทธิภาพในการ บริหารงานการปฏิบัติงานด้าน ICT
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมศักยภาพบุคลากร วัฒนธรรมองค์กร ให้พร้อมในการปฏิบัติงานในระบบอิเล็กทรอนิกส์
3.3 ตารางยุทธศาสตร์ เป้าหมาย และแผนงาน/กิจกรรมหลัก
ยุทธศาสตร์
1.พัฒนาระบบงานบริหารราชการและงานบริการด้วย ICT
เป้าหมาย
พัฒนาและส่งเสริมการใช้ ICT ในองค์กรเพื่อให้เกิดบูรณาการในระบบข้อมูล มีการพัฒนาและกำหนดมาตรฐานข้อมูลและการสื่อสาร เพื่อให้เชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างมีเอกภาพส่งผลให้การบริหารงานของหน่วยงานและการให้บริการประชาชนมีประสิทธิภาพ
1. พัฒนาระบบงานบริหารหลักซึ่งได้แก่ งานสารบรรณ งานบริหารงานบุคคล งานการเงินและบัญชี งานงบประมาณ และงานพัสดุ ในลักษณะระบบบูรณาการ และเป็นไปตามมาตรฐานกลาง
2. พัฒนาระบบงานบริการในรูปแบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิคส์ เพื่อมุ่งพัฒนาให้เป็นการให้บริการผ่านเครือข่ายแบบ On Line
3. พัฒนาระบบงาน/ฐานข้อมูลตามภารกิจของหน่วยงาน พัฒนาต่อยอดเป็นระบบสารสนเทศประเภทต่าง ๆ ตามความต้องการ ใช้งาน เช่น SMIS GFMIS GIS
แผนงาน/กิจกรรมหลัก
1. พัฒนาระบบงานบริหาร (Back Office) และงานบริการตามภารกิจของหน่วยงาน (Front Office) ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการพัฒนาต่อยอดเป็นระบบสารสนเทศตามความต้องการใช้งาน
2. การพัฒนาและประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS ) หรือSMIS GFMIS และโปรแกรม อื่น ๆ ที่จำเป็น เพื่อการวางแผนและบริหารงาน
3. การจัดหาและพัฒนา จุดบริการสาธารณะ
2. ส่งเสริมระบบเครือข่ายสื่อสารให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุมทุกหน่วยงาน
1.ปรับปรุงเครือข่ายของ แต่ละกลุ่มงาน ให้สามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายของจังหวัด อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
2 ปรับปรุงระบบเครือข่ายของ สพฐ. และ สพท. ,โรงเรียนให้สามารถเชื่อมโยงระบบเครือข่ายจากส่วนกลางอย่างมีประสิทธิภาพ
1. ปรับปรุงระบบเครือข่ายของ สพท.นม. 5เพื่อรองรับการเชื่อมโยงจากหน่วยงานภายนอก
2.ปรับปรุงระบบเครือข่ายของแต่ละหน่วยงานเพื่อรองรับการเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบข้อมูลกลาง
3.พัฒนาการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลเป็นเครือข่ายในลักษณะศูนย์ข้อมูลกลาง นำ ICT มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพในการจัดระบบข้อมูลเพื่อการบริหารและบริการประชาชนได้รวดเร็ว ฉับไว
1. สนับสนุนการบริหารการจัดการ
2. เพื่อการวางแผนและการปฏิบัติงาน
1. พัฒนาระบบเครือข่าย
2. การพัฒนาระบบฐานข้อมูล (Database)
4. วางแผนพัฒนากระบวนงานและระบบงาน ให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารงานการปฏิบัติงานด้าน ICT ทุกโรงเรียนภายในเขตพื้นที่นำ ICT มาทดแทนระบบปฏิบัติงานโดยการบูรณาการอย่างเป็นเอกภาพ
1. มีแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการ ICT ที่สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
2. มีการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนางานด้าน ICT
3. ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการประยุกต์ใช้ ICT ในการปฏิบัติงาน
1.ศึกษา วิจัย วางแผน และประเมินปัจจัยเพื่อพัฒนาด้าน ICT
2. จัดหาอุปกรณ์ ICT เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและการให้บริการ รวมทั้งการบำรุงรักษาระบบให้มีประสิทธิภาพ
5. ส่งเสริมศักยภาพบุคลากร และสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้พร้อมในการปฏิบัติงานในระบบอิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาความรู้ความสามารถทางด้าน ICT ให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับระบบงานด้านนโยบาย e-Government ของรัฐบาล รวมทั้งเพิ่มทักษะการใช้ ICT แก่ผู้บริหารให้สามารถเข้าถึงและใช้ข้อมูลในระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้
1. พัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถทางด้าน ICT
2. ส่งเสริมให้มีการพัฒนาความเชี่ยวชาญ การประยุกต์ใช้ เพื่อพัฒนางานด้าน ICT และให้เกิดความร่วมมือเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดประสบการณ์/ความรู้ทางด้าน ICT
- จัดหาผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาในการพัฒนางานด้าน ICT
ส่วนที่ 4 :
การบริหารจัดการและการติดตามประเมินผลแผนแม่บท ICT
ส่วนที่ 4 การบริหารจัดการและการติดตามประเมินผลแผนแม่บท ICT
1. มีการตั้งคณะทำงาน ICT ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 5ติดตามประเมินผลแผน ICT ของกลุ่ม และโรงเรียน ทำหน้าที่วิเคราะห์และวางระบบการติดตามและประเมินผลรายงานผลการทำงานต่อรองผู้อำนวยการสำนักงานเขต ที่รับผิดชอบ ด้าน ICT และ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่
2. ให้คณะทำงานติดตามประเมินผลแผน ICT ของกลุ่ม และโรงเรียน
3. ให้คณะทำงานดำเนินงานตามแผนแม่บทด้าน ICT เพื่อให้การพัฒนางานด้าน ICT ของสำนักงาน ดำเนินการไปตามแผนแม่บทฯ อย่างมีประสิทธิภาพ และบังเกิดผลและ สร้างความเข้าใจแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกหน่วยงาน เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ ยอมรับและนำแผนไปสู่การปฏิบัติ การติดตามประเมินผล
เพื่อให้การติดตามประเมินผลมีประสิทธิภาพ จึงต้องมีการดำเนินงานดังต่อไปนี้
1. กำหนดตัวชี้วัดเพื่อเป็นเครื่องมือวัดความสำเร็จและผลกระทบของการดำเนินการตามแผนแม่บท ICT ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 5 โดยกำหนดตัวชี้วัดเป็น 3 ระดับ ดังนี้
(1) ตัวชี้วัดตามเป้าหมายรวมของแผนแม่บท ICT โดยใช้วัดผลสำเร็จของแผนในภาพรวม หรือวัดผลกระทบสุดท้ายของการพัฒนา (Outcome)
(2) ตัวชี้วัดตามเป้าหมายระดับยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นการวัดประสิทธิผลของแต่ละยุทธศาสตร์การพัฒนา (Output)
(3) ตัวชี้วัดระดับโครงการ เป็นการวัดความสำเร็จและผลกระทบของโครงการ
2. พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้ประโยชน์ในการการติดตามประเมินผล
3. ให้คณะทำงานติดตามประเมินผลแผน ICT ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 5 ทำหน้าที่ วิเคราะห์ ติดตามการดำเนินงานโครงการของแต่ละยุทธศาสตร์ และประเมินผลแผนแม่บท โดยจัดเก็บ วิเคราะห์ ข้อมูลตามตัวชี้วัดต่าง ๆ ที่ได้กำหนดขึ้นเพื่อวัดผลสำเร็จของการพัฒนาและวัดประสิทธิผลของยุทธศาสตร์การพัฒนา รายงานผลคณะกรรมพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 5
การวัดผลสำเร็จของการพัฒนา
สำหรับตัวชี้วัดที่จะใช้วัดผลสำเร็จของแผนในภาพรวม หรือวัดผลกระทบสุดท้ายของการพัฒนาตามเป้าหมายรวมของแผนแม่บท ICT มีดังต่อไปนี้
1.การเพิ่มขึ้นของระบบงาน ICT เพื่อการบริหาร
2 การเพิ่มขึ้นของระบบงานเพื่อการบริการจัดการงาน
3.การเพิ่มขึ้นของกลุ่มงาน และโรงเรียน ที่มีการพัฒนา Web ของตนเอง
4. ความพึงพอใจของผู้มาติดต่อราชการ
5. มีระบบฐานข้อมูลที่สามารถสืบคืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. สัดส่วนของบุคลากรที่มีคอมพิวเตอร์ใช้งาน
7.การเพิ่มขึ้นของบุคลากรที่สามารถใช้ ICT ในการปฏิบัติงาน
8. สัดส่วนของเรื่องที่แจ้งเวียนโดยใช้ ระบบ e-office
----------------------------------
วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น